Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
อาารปวดหัว เดี๋ยวปวด-เดี๋ยวหาย รีบรักษาก่อนสายไป
อาการปวดหัวเรื้อรัง เป็นอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นมากกว่า 15 วันต่อเดือน โดยมักมีอาการปวดที่ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นการปวดหัวที่เกิดจาก ความเครียด, ไมเกรน, การกินยาแก้ปวดเกินขนาด, การใช้ยาแก้ปวดไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดจากโรคต่างๆ ภายในร่างกาย ทำให้เกิดเป็นอาการปวดหัวเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การปวดหัวเรื้อรังอาจไม่ใช่การปวดหัวธรรมดา แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย
อาการปวดหัวเรื้อรัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ปวดหัวเรื้อรังแบบเป็นอันตราย
โดยอาการปวดหัวดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เนื้องอกในสมอง ฯลฯ ซึ่งต้องได้รับการตรวจรักษาโดยด่วน2.ปวดเรื้อรังแบบไม่เป็นอันตราย
แต่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน คืออาการปวดหัวที่เกิดขึ้น จากความเครียด การทำงาน อาการตึงของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการดังกล่าวถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตราย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งหลายคนมักคิดว่าแค่อาการปวดหัวซื้อยามากินก็หาย หรือเป็นแค่อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ แค่ไปนวดเดี๋ยวอาการก็ดีขึ้น แต่ความจริงแล้วการที่เรารักษาเองอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ใช้ยาเกินขนาดจนส่งผลต่อตับและไต หรือกระทั่งการนวดคลายกล้ามเนื้อที่รุนแรง จนทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเลือดบาดเจ็บกลายเป็นปัญหาปวดหัวเรื้อรัง
แม้ว่าการปวดหัวอาจไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง แต่หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากภาวะเลือดออกในสมอง หรือมีอาการติดเชื้อในระบบประสาทได้
- ปวดหัวแบบรุนแรงและมักเกิดขึ้นทันที
- ปวดหัวและรู้สึกว่ามีไข้ มีอาการคอแข็งร่วมด้วย
- รู้สึกว่าแขนขาอ่อนแรง มีความผิดปกติเกิดขึ้น
- มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กินยาแล้วไม่ทุเลา
ป้องกันการปวดหัวได้ดีที่สุด คือการ “ดูแลตัวเอง” หมั่นสังเกตตัวเองว่าอะไรคือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว เพราะสิ่งกระตุ้นของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป เมื่อรู้แล้วก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น และหากพบว่าอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นนั้นผิดปกติไปจากการปวดหัวทั่วไป ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา อย่าปล่อยนานจนทุกอย่างสายเกินจะแก้ไข
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ grupoexpositor.com
Economy
-
ทะลุ 423 บาทต่อถัง 15 กก. 1 มี.ค.ก๊าซหุงต้มขึ้น
ทะลุ 423 บาทต่อถัง 15 กก. 1 มี.ค.ก๊าซหุงต้มขึ้นราคา 1 บาทต่อกิโลกรัม
วันที่ 1–31 มี.ค.นี้ ราคาก๊าซหุงต้มปรับเพิ่มขึ้นอีก 1 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ไปอยู่ที่ 423 บาทต่อถังขนาด 15 กก.จากเดิม 408 บาทต่อถัง สมาคมผู้ค้าฯขอให้ภาครัฐเข้มงวดการนำถังก๊าซหุงต้มไปเติมในปั๊มก๊าซหุงต้มสำหรับให้บริการรถยนต์ หวั่นเกิดอันตราย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.นี้ ราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) จะปรับเพิ่มขึ้นกิโลกรัม (กก.) ละ 1 บาท ส่งผลให้แอลพีจีขนาดบรรจุถัง 15 กก. ปรับขึ้นอีก 15 บาท เป็นเวลา 1 เดือน ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ทำให้ราคาขายปลีกในเดือน มี.ค.ปรับขึ้นไปอยู่ที่ 423 บาทต่อถัง 15 กก. หรือเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ 408 บาทต่อถัง 15 กก. ขณะที่ต้นทุนราคาที่แท้จริงหากไม่มีการตรึงราคาจากภาครัฐ จะอยู่ที่ 508 บาทต่อถัง 15 กก. ขณะที่รัฐบาลยังมีมาตรการมอบส่วนลดราคาแอลพีจี สำหรับร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่เกิน 100 บาท/ราย/เดือน ส่วนลดค่าซื้อแอลพีจีแก่ ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 100 บาท/คน/3 เดือน ไปจนถึงวันที่ 31 มี.ค.นี้
นายนรุตม์ ภัทรชัยพร นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว เปิดเผยว่า สมาคมต้องการให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งดูแลปัญหา การนำถังแอลพีจี ภาคครัวเรือน ไปเติมในสถานีบริการ (ปั๊ม) แอลพีจีในรถยนต์ ที่ขณะนี้มีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากราคาแอลพีจีได้ปรับขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนบางส่วนที่มีรายได้น้อยหันไปเติมในปั๊มแอลพีจีแทน เพราะสามารถจ่ายเงินตามที่พอมี เช่น 100-200 บาทต่อครั้ง เพราะไม่อาจซื้อเต็มถังที่ราคาแพงได้ และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากราคาขายปลีกจะปรับขึ้นอีก 1 บาทต่อ กก.
“ผมอยากให้รัฐบาลเร่งดูแลเพราะปัญหานี้ยังคงมีอยู่ในปั๊มแอลพีจีบางแห่ง ทำให้ถือว่าผิดกฎหมายโดยระเบียบกำหนดไว้ชัดเจนว่า ปั๊มแอลพีจีจะต้องเติมให้กับถังแอลพีจี สำหรับรถยนต์เท่านั้น และที่สำคัญวิธีการดังกล่าว ไม่ปลอดภัยและเป็นอันตรายต่อผู้ไปเติมแอลพีจีด้วย เพราะถังดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถูกเวียนนำไปบำรุงรักษา”
ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th สำหรับการปรับขึ้นราคาแอลพีจีในวันที่ 1 มี.ค.นี้
ร้านค้าได้รับทราบล่วงหน้าและเตรียมปรับขึ้น ซึ่งราคา 423 บาทต่อถัง 15 กก. ที่เป็นราคาแนะนำในพื้นที่กรุงเทพฯ แต่ราคาในพื้นที่อื่นๆก็จะแตกต่างกันไป โดยจะต้องบวกกับค่าขนส่งที่ขึ้นอยู่กับระยะทาง รวมถึงการขนขึ้นตึกสูง ที่จะเป็นการตกลงกับผู้บริโภค ซึ่งยอมรับว่าปัจจุบันค่าการตลาดของผู้ค้าแอลพีจีส่วนใหญ่ที่เป็นร้านค้ารายย่อยนั้นไม่ได้สูงนัก
“ขณะเดียวกัน ต้นทุนต่างๆยังคงเพิ่มขึ้นมากทั้งค่าแรงงานของคนงานขนส่งแอลพีจี ค่าน้ำมันรถยนต์ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ที่รัฐบาลกำหนด เช่น ล่าสุดร้านค้าแอลพีจี ประเภทที่ขออนุญาต
เปิดกิจการ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงด้วยน้ำแบบอัตโนมัติ (Sprinkler) เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น”นายนรุตม์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ต้นทุนการดำเนินกิจการร้านค้าแอลพีจีก็ปรับตัวสูงขึ้นมาก ผู้ค้าก็ไม่อยากให้กระทบต่อประชาชน ก็ยอมแบกภาระส่วนหนึ่ง แม้ว่าน้ำมันดีเซลขณะนี้ จะลดลง 1 บาทต่อลิตร เช่นเดียวกับค่าแรงที่ผู้ค้า
แอลพีจีก็ต้องจ่ายสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เพราะหาแรงงานยาก และราคาแอลพีจีที่แพงขึ้นก็มีผลต่อประชาชนที่ใช้ประหยัดมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นในเดือน เม.ย.รัฐบาลยังสามารถตรึงราคาได้ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี“ปัจจุบันร้านค้าปลีกแอลพีจีทั่วประเทศมีจำนวน 30,000 แห่ง ยอมรับว่าธุรกิจดังกล่าว ค่อนข้างมีอุปสรรคมาก ทั้งกฎระเบียบใหม่ๆ และต้นทุนต่างๆ ที่สูงทำให้ร้านค้าเดิมที่มีเจ้าของอายุมากแล้วเริ่มจะถอดใจ และทยอยปิดตัวลง ส่วนรายใหม่ๆที่จะเปิดขึ้นตามหมู่บ้าน ที่สร้างขึ้นใหม่ๆ ยังมีอยู่ แต่หากเทียบกับอดีตก็จะมีอัตราการเติบโตที่น้อยลง ขณะที่เหลืออยู่ ก็ต้องปรับตัวในเรื่องของต้นทุนต่างๆ”.
ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : grupoexpositor.com
Latest News
อาร์เซนอล พร้อมยื่น 50 ล้านยูโร คว้าตัวหอกเดนมาร์ก
ตกเป็นข่าวพร้อมยื่นข้อเสน...
สื่อเผย แทมมี่ กองหน้าของโรม่า ส่อกลับพรีเมียร์ลีกซัมเมอร์นี้
สกาย สปอร์ต อิตาเลีย รายง...
เจมส์วอร์ดพราวส์ เสมอสเปอร์สหลังได้จุดโทษในช่วงทดเวลาเจ็บ
เจมส์ วอร์ด-พราวส์ทำให้เซ...